กลุ่มอาการดาวน์
หรือโรคดาวน์ หรือ Down’s syndrome หรือ Down
syndrome มีสาเหตุมาจากการที่ผู้ป่วยมีจำนวนชุดของยีนบนโครโมโซมคู่ที่
21 สามชุด แทนที่จะเป็นสองชุด ส่วนใหญ่เกิดกับพ่อแม่ที่มีพันธุกรรมเป็นปกติ
พ่อแม่คู่ที่มีบุตรคนเป็นกลุ่มอาการดาวน์แล้วคนหนึ่งมีโอกาสที่จะมีบุตรคนเป็นกลุ่มอาการดาวน์อยู่ที่
1% หากผลตรวจโครโมโซมของทั้งพ่อและแม่คู่นั้นออกมาเป็นปกติ
กลุ่มอาการดาวน์นี้สามารถพบได้ทุกเชื้อชาติทั่วโลก
โดยพบว่าประมาณ 800 ทารกแรกเกิดจะเป็นโรคนี้
1 คน สำหรับในประเทศไทยพบทารกแรกเกิดที่เป็น Down’s
syndrome ประมาณ 1,000 คนต่อปี
หรือเกิดขึ้นประมาณ 3 คนต่อวัน
อาการแสดงหลักคือ
ปัญญาอ่อน มีโรคหัวใจพิการ และอายุสั้น
ลักษณะทางกาย
ผู้ป่วยกลุ่มอาการดาวน์อาจมีลักษณะทางกายภาพบางส่วนหรือทั้งหมดดังต่อไปนี้
คางเล็ก หางตาชี้ขึ้น กล้ามเนื้ออ่อน สันจมูกแบน เส้นลายมือตามขวางมีเส้นเดียว
และลิ้นยื่น เนื่องจากมีลิ้นใหญ่และปากเล็กลักษณะของทางหายใจเหล่านี้อาจทำให้เกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับได้
มีโครโมโซม คู่ที่ 21 เกินมา 1 แท่ง การเกิด Trisomy
21 นี้ เป็นสาเหตุของ Down’s syndrome ประมาณ 94%
ความเสี่ยงของการที่แม่คนหนึ่งจะผลิตไข่ที่ผิดปกติและมีลูกที่เป็นกลุ่มอาการดาวน์ขึ้นกับอายุ
อายุแม่ที่มากขึ้น ก็จะยิ่งมีโอกาสมีลูกเป็นโรคนี้มากขึ้น โดยเฉลี่ย คือ
แม่ที่อายุ 25 ปี ถ้าตั้งครรภ์ 1,250 คน จะมีโอกาสมีลูกเป็นกลุ่มอาการดาวน์ 1 คน (0.08%)
แม่ที่อายุ 30 ปี ถ้าตั้งครรภ์ 1,000 คน จะมีโอกาสมีลูกเป็นกลุ่มอาการดาวน์ 1 คน (0.1%)
แม่ที่อายุ 35 ปี ถ้าตั้งครรภ์ 400 คน จะมีโอกาสมีลูกเป็นกลุ่มอาการดาวน์ 1 คน (0.25%)
แม่ที่อายุ 40 ปี ถ้าตั้งครรภ์ 100 คน จะมีโอกาสมีลูกเป็นกลุ่มอาการดาวน์ 1 คน (1%)
แม่ที่อายุ 45 ปี ถ้าตั้งครรภ์ 30 คน จะมีโอกาสมีลูกเป็นกลุ่มอาการดาวน์ 1 คน (3.3%)
แม่ที่อายุ 25 ปี ถ้าตั้งครรภ์ 1,250 คน จะมีโอกาสมีลูกเป็นกลุ่มอาการดาวน์ 1 คน (0.08%)
แม่ที่อายุ 30 ปี ถ้าตั้งครรภ์ 1,000 คน จะมีโอกาสมีลูกเป็นกลุ่มอาการดาวน์ 1 คน (0.1%)
แม่ที่อายุ 35 ปี ถ้าตั้งครรภ์ 400 คน จะมีโอกาสมีลูกเป็นกลุ่มอาการดาวน์ 1 คน (0.25%)
แม่ที่อายุ 40 ปี ถ้าตั้งครรภ์ 100 คน จะมีโอกาสมีลูกเป็นกลุ่มอาการดาวน์ 1 คน (1%)
แม่ที่อายุ 45 ปี ถ้าตั้งครรภ์ 30 คน จะมีโอกาสมีลูกเป็นกลุ่มอาการดาวน์ 1 คน (3.3%)
ข้อมูลบนโครโมโซมที่มีเกินมานั้นอาจเกิดขึ้นได้หลายวิธี
สาเหตุที่พบบ่อยที่สุด (คิดเป็น 92-95% ของผู้ป่วยกลุ่มอาการดาวน์ทั้งหมด)
เกิดจากการมีโครโมโซม 21 เกินมาทั้งแท่ง เรียกว่ามีแฝดสามของโครโมโซม 21 (trisomy
21) ส่วนในผู้ป่วยอีกกลุ่มหนึ่ง
(1-2.5% ของผู้ป่วยกลุ่มอาการดาวน์ทั้งหมด) มีเซลล์บางเซลล์ในร่างกายเป็นปกติ
ในขณะที่เซลล์บางเซลล์มีแฝดสามของโครโมโซม 21 ลักษณะเช่นนี้เรียกว่ากลุ่มอาการดาวน์แบบโมเซอิก
รูปแบบอื่น ๆ ที่พบได้ค่อนข้างบ่อย เช่น การสับเปลี่ยนของโครโมโซมแบบโรเบิร์ตโซเนียน
ไอโซโครโมโซม (โครโมโซมมีแขนสองข้างเหมือนกัน) และโครโมโซมวงแหวน
ความผิดปกติเหล่านี้ทำให้มีองค์ประกอบของโครโมโซม 21 ที่เกินมา ทำให้เกิดโรค
พบได้ใน 2.5% ของผู้ป่วยกลุ่มอาการดาวน์ทั้งหมด
สื่อการสอนวิทยาศาสตร์
ชื่อสื่อการสอน มิวเทชัน (Mutation)
แนวคิด มิวเทชันเป็นการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมในระดับยีนหรือโครโมโซม
ซึ่งเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับดีเอ็นเอ
โดยมิวเทชันที่เกิดในเซลล์สืบพันธุ์สามารถถ่ายทอดไปสู่รุ่นลูกและหลานได้ การแปรผันทางพันธุกรรมทำให้สิ่งมีชีวิตที่เกิดใหม่มีลักษณะที่แตกต่างกันหลากหลายชนิดก่อให้เกิดเป็นความหลากหลายทางชีวภาพ
วัตถุประสงค์ 1. เพื่อเป็นสื่อในการเรียนการสอนเรื่องมิวเทชันเป็นการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรม
2. เพื่อให้นักเรียนเห็นถึงการแปรผันทางพันธุกรรม
คู่มือการใช้สื่อ
มิวเทชัน (Mutation)
§ Gene
mutation
ประกอบด้วยโมเดล Normal Cell กับ โมเดล Sickle
Cell
§ Chromosome
mutation Down‘s syndrome เมื่อเปิดฝาออกจะมีโมเดล Down
syndrome symptoms ประกอบด้วย Normal (คนปกติ)
กับ Abnormal (ลักษณะคนเป็นดาวน์ซินโดรม)
§ โมเดล
Continuous
variation
(ลักษณะการถ่ายทอดทางพันธุกรรมผมตรง ผมหยิก)
§ โมเดล
Discontinuous
variation
(ตาชั้นเดียวกับตาสองชั้น)
|
ขอบคุณข้อมูลจาก
วันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 เวลา 16.15 น.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น