โรคโลหิตจางจากเม็ดเลือดแดงรูปเคียวหรือ sickle cell anemia
มีชื่อเรียกอื่นๆ เช่น Hemoglobin
S disease ,HbS disease ,Sickle cell disorders และ Sickle cell disease
อยู่ในกลุ่มของโรคประเภท
ระบบไหลเวียนเลือด
ผู้ค้นพบ
Jame
B. Herrick
สาเหตุของการเกิดโรค
เกิดจากการเปลี่ยนแปลงเบสของยีนเบตาโกลบิล
ที่ควบคุมการสร้างสายโปรตีน (Polypeptide) สายเบตาของฮีโมโกลบิน
(ในเม็ดเลือดแดงของคนแต่ละเม็ดมีฮีโมโกลบินประกอบอยู่ถึง 280 ล้านโมเลกุล แต่ละโมเลกุลของฮีโมโกลบินประกอบด้วยโปรตีน
1 โมเลกุล และสารอินทรีย์ 4 หน่วยซึ่งมีอะตอมของธาตุเหล็กอยู่ตอนกลาง) ยีนเบตาโกลบินที่ผิดปกติ
จะมีลำดับเบสบนยีนเปลี่ยนจาก CTC ไปเป็น CAC ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกรดอะมิโนที่สร้างขึ้น
(ยีนทำหน้าที่ควบคุมการสร้างโปรตีน ในกรณีนี้รหัสของเบสในยีนเปลี่ยน ทำให้ชนิดของโปรตีนเปลี่ยนไปด้วย)
ยีนเบตาโกลบินในคนปกติแปลรหัสเป็นกรดกลูตามิก
แต่ในคนที่เป็นโลหิตจางชนิดซิกเคิลเซลล์กลับมีการแปลรหัสเป็นวาลีน
อาการของโรค
Sickle
cell disease เป็นภาวะความผิดปกติตั้งแต่กำเนิดของ hemoglobin
เป็นสาเหตุให้เซลล์เม็ดเลือดแดงกลายเป็น C-shaped ซึ่งโดยปกติแล้วตัวเม็ดเลือดแดง (RBC) จะมีความยืดหยุ่นได้ระดับหนึ่งเพื่อง่ายต่อการเคลื่อนที่ไปยังหลอดเลือดต่างๆ
ส่วนปลาย ซึ่งจะมีขนาดเล็กและคดเคี้ยว แต่ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้ตัวRBC จะเสียความยืดหยุ่นไปทำให้เกิดการอุดตันของRBC ในหลอดเลือดบริเวณต่างๆ
อีกทั้ง Sickle cell จะตายและแตกง่ายกว่าเซลล์ปกติ
ทำให้เกิดภาวะโลหิตจาง
การถ่ายทอด
(Inheritance)
จะถ่ายทอดโดยผ่านทางสายเลือด
ทำให้ลูกมีการแสดงฟีโนไทป์ออกมาเหมือนกับพ่อกับแม่ เช่น สีผม สีตา สีผิว
หรือลักษณะทางกายภาพอื่นๆที่เราสามารถมองเห็นได้ภายนอก ถ้าพ่อหรือแม่คนใดคนหนึ่งเป็นโรคนี้
(ยีนเป็น SS) และอีกคนหนึ่งเป็นพาหะของโรค (ยีนเป็น Ss)
จะทำให้ลูกมีโอกาสเป็นโรคนี้ได้ 50
เปอร์เซ็นต์ แต่ถ้าพ่อและแม่เป็นพาหะของโรคนี้ ก็จะทำให้ลูกเป็นโรคนี้ได้ 25 เปอร์เซ็นต์
สรุป
เป็นโรคโลหิตจางชนิดหนึ่งที่พบในแอฟริกา มีลักษณะเม็ดเลือดแดงเป็นรูปเคียวเกี่ยวข้าว
ซึ่งถูกทำลายได้ง่ายกว่าปกติ และขนส่งออกซิเจนไม่ได้ ยีนนี้เกิดจากความผิดปกติของกรดอะมิโนในโมเลกุลของ
Hemoglobin
เป็น Missence mutation กรดอะมิโนตัวที่ 6
จากกรดกลูตามิกเป็นวาลีน โดยมักจะพบโรคนี้คู่กับโรคมาเลเลียชนิด Plasmodium
faciparum
สื่อการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์
ชื่อสื่อการสอน มิวเทชัน (Mutation)
แนวคิด มิวเทชันเป็นการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมในระดับยีนหรือโครโมโซม
ซึ่งเป็นผลมาจาก
การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับดีเอ็นเอ
โดยมิวเทชันที่เกิดในเซลล์สืบพันธุ์สามารถถ่ายทอดไปสู่รุ่นลูกและหลานได้ การแปรผันทางพันธุกรรมทำให้สิ่งมีชีวิตที่เกิดใหม่มีลักษณะที่แตกต่างกันหลากหลายชนิดก่อให้เกิดเป็นความหลากหลายทางชีวภาพ
วัตถุประสงค์ 1. เพื่อเป็นสื่อในการเรียนการสอนเรื่องมิวเทชันเป็นการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรม
2. เพื่อให้นักเรียนเห็นถึงการแปรผันทางพันธุกรรม
คู่มือการใช้สื่อ
มิวเทชัน (Mutation)
§ Gene
mutation
ประกอบด้วยโมเดล Normal Cell กับ โมเดล Sickle
Cell
§ Chromosome
mutation Down‘s syndrome เมื่อเปิดฝาออกจะมีโมเดล Down
syndrome symptoms ประกอบด้วย Normal (คนปกติ)
กับ Abnormal (ลักษณะคนเป็นดาวน์ซินโดรม)
§ โมเดล
Continuous
variation
(ลักษณะการถ่ายทอดทางพันธุกรรมผมตรง ผมหยิก)
§ โมเดล
Discontinuous
variation
(ตาชั้นเดียวกับตาสองชั้น)
|
ขอบคุณข้อมูลจาก https://th.wikipedia.org/wiki
วันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 เวลา 17.19 น.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น