การแปรผันทางพันธุกรรมแบบต่อเนื่อง
การแปรผันทางพันธุกรรม คือ ลักษณะที่แตกต่างกันของสิ่งมีชีวิต ความแปรผันทางพันธุกรรม
ตัวอย่างการถ่ายทอดลักษณะพันธุกรรมของผม
(ผมหยิก ผมตรง)
การแปรผันทางพันธุกรรมแบบต่อเนื่อง
(Continuous
variation) เป็นลักษณะทางพันธุกรรมที่ไม่สามารถแยกความแตกต่างได้อย่างชัดเจน มีความแตกต่างกันเพียงเล็กน้อย ความแตกต่างของลักษณะจะปรากฏเป็นลำดับต่อเนื่องกัน
ทำให้ยากต่อการจัดหมวดหมู่และอัตราส่วนจะแยกอย่างเด็ดขาดได้ยาก
มักถูกควบคุมโดยยีนหลายคู่
Polygene หรือ Multiple
gene แปรผันได้ง่ายเมื่อได้รับอิทธิพลจากสิ่งแวดล้อม
สามารถวัดขนาดและปริมาณได้ (Quantitative trait ) ตัวอย่าง
เช่น ในคน – สีผิวปกติ / ความสูง / น้ำหนัก / โครงร่าง /
ระดับสติปัญญา ฯลฯ ในสัตว์และพืช – ขนาดของร่างกาย / ผลผลิต
/ ปริมาณการให้เนื้อ นม และไข่ ฯลฯ
เป็นลักษณะทางพันธุกรรมที่ไม่สามารถแยกความแตกต่างได้อย่างเด่นชัด เช่น
ความสูง น้ำหนัก โครงร่าง สีผิว
ซึ่งเกิดจากอิทธิพลของกรรมพันธุ์และสิ่งแวดล้อมร่วมกัน เช่น ความสูง
ถ้าได้รับสารอาหารถูกต้องตามหลักโภชนาการและมีการออกกาลังกายก็จะทาให้มีร่างกายสูงได้
สื่อการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์
ชื่อสื่อการสอน มิวเทชัน (Mutation)
แนวคิด มิวเทชันเป็นการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมในระดับยีนหรือโครโมโซม
ซึ่งเป็นผลมาจาก
การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับดีเอ็นเอ
โดยมิวเทชันที่เกิดในเซลล์สืบพันธุ์สามารถถ่ายทอดไปสู่รุ่นลูกและหลานได้ การแปรผันทางพันธุกรรมทำให้สิ่งมีชีวิตที่เกิดใหม่มีลักษณะที่แตกต่างกันหลากหลายชนิดก่อให้เกิดเป็นความหลากหลายทางชีวภาพ
วัตถุประสงค์ 1. เพื่อเป็นสื่อในการเรียนการสอนเรื่องมิวเทชันเป็นการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรม
2. เพื่อให้นักเรียนเห็นถึงการแปรผันทางพันธุกรรม
คู่มือการใช้สื่อ
มิวเทชัน (Mutation)
§ Gene
mutation
ประกอบด้วยโมเดล Normal Cell กับ โมเดล Sickle
Cell
§ Chromosome
mutation Down‘s syndrome เมื่อเปิดฝาออกจะมีโมเดล Down
syndrome symptoms ประกอบด้วย Normal (คนปกติ)
กับ Abnormal (ลักษณะคนเป็นดาวน์ซินโดรม)
§ โมเดล
Continuous
variation
(ลักษณะการถ่ายทอดทางพันธุกรรมผมตรง ผมหยิก)
§ โมเดล
Discontinuous
variation
(ตาชั้นเดียวกับตาสองชั้น)
ขอบคุณข้อมูลจาก
วันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 เวลา 18.20 น.
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น